๑. นั่งไม่ถูกวิธี


๒. จิตเป็นกังวล กังวลเรื่องงาน

๓. เหนื่อยมาก ไปทำงานมาเหนื่อยเหลือเกิน จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ แต่หายเหนื่อยเมื่อยล้าเมื่อไรก็ตั้งสติให้ได้แก่นได้

๔. ป่วย อาพาธหนัก จิตท่านจะไม่เป็นสมาธิ ท่านจะอุปาทานนึกถึงเวทนา ปวดโน้น เมื่อยนี้ ปวดหนอ ปวดเรื่อย อะไรทำนองนี้ จิตท่านจะขาดสมาธิทันที ถ้าไม่ฝึกปฏิบัติ ท่านจะไม่มีสมาธิเลย

๕. ราคะเกิด ขณะนั้นจิตท่านจะหายไป สมาธิจะไม่เกิด

๖. โทสะเกิด ท่านไม่สามารถแก้ไขโทสะได้ ไม่สามารถจะตั้งสติไว้ได้ สมาธิหนีไปหมด ท่านจะทำอะไรเสีย ขาดสมาธิ เพราะมีโทสะ โทสะสิงสถิตอยู่ในจิตใจของท่าน ปัญญาไม่เกิด แล้วท่านจะไม่มีสมาธิปฏิบัติอีก ๒๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ไม่ได้อานิสงส์แต่ประการใด

๗. อารมณ์มากระทบอารมณ์เกิดกระทบสัมผัสเกิดอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดสัมผัสมากระทบอารมณ์จึงเสีย จิตไม่เป็นสมาธิ ไหนเลยท่านจะมีสมาธิ อวดอาตมาว่ามีสมาธิแล้ว ไม่จริง นั่งหลับตาก็ไม่รู้ว่าคนนี้สมถะหรือวิปัสสนา นั่งหลับตาอยู่ จิตออกไปโน้นไปเชียงใหม่โน่น จิตโน่นไปห่วงผัว กลัวผัวจะไปมีเมียใหม่ อะไรทำนองนี้ รับรองอีกร้อยปีท่านจะไม่ได้อะไร จิตเกิดโทสะ ถ้าท่านไม่ระงับโทสะก่อน สมาธิก็ไม่เกิดแน่นอน ขาดการกำหนดจิตจะขาดสติขาดปัญญา ไหนเลยสมาธิจะเกิดขึ้นกับตัวท่านได้

สาเหตุของจิตไม่สงบมีอยู่ ๘ ประการ โยมต้องกำหนดจดจำข้อนี้ไว้ก่อน จิตไม่สงบทำ

อะไรก็ไม่สงบ ถ้าไม่ฝึกมาก่อน จิตไม่มีสมาธิ จะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย สาเหตุนั้นได้แก่

๑. ไม่มีพอ ตะเกียกตะกายอยู่ร่ำไป ท่านจะไม่มีความสงบในครอบครัวเลย

๒. ใช้เวลาว่างมากเกินไป ไม่เอางานเอาการ พวกประเภทนี้ พวกจิตว่าง มันว่างจิตก็ไหนไปสู่ที่ต่ำ ชีวิตจะไร้สาระไม่สงบ

๓. ถูกเบียดเบียนจิตใจ ครอบครัวไปอยู่ในหมู่บ้านที่เขาเบียดเบียนจิตใจ จิตท่านจะไม่สงบ

๔. อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความปกติ ปวดท้อง ปวดหัว ธาตุทั้ง ๔ ขาดไป อวัยวะไม่ปกติ ท่านจะขาดปัญญา จะสงบได้ไหม อวัยวะไม่ตั้งอยู่ในความสงบ ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่าย ๆ ก่อนสอนก็ต้องไปปัสสาวะก่อน ไปถ่ายอุจจาระเสียก่อน ให้มันโล่งแล้วสอนต่อไป หากจิตไม่สงบแล้ว ท่านจะสอนเด็กไม่ได้ดีเลย

๕. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ท่านเป็นโรคสามวันดีสี่วันไข้ อยู่ในภาวะอันนั้นแน่นอนที่สุด

๖. ถูกสิ่งแวดล้อมดึงไปในทางชั่ว เข้าไปอยู่ในกลุ่มคนเลว คนพาน สันดานบาป ดึงทุกวัน ดึงทุกเวลา จะไม่เกิดความสงบเลย

๗. ครอบครัวไม่มีความสุข ทะเลาะกันทุกวันจิตท่านจะไม่สงบ

๘. มัวเมาในอบายมุข เล่นการพนันไม่พัก เที่ยวสรวลเสเฮฮาในสังคมตลอดรายการ จิตท่านจะไม่สงบเลย นี่แหละจำไว้

การบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลอะไรก็ไม่ดีเท่าการเจริญพระกรรมฐานอีกแล้ว เพราะเป็นบุญที่สูง

ที่สุดในพระพุทธศาสนา จะเห็นทางมรรคมรรคา มองเห็นทางเดินที่ถูกต้องคือ มรรค ๘ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีสติระลึกเสมอ สัมปรัญญะรู้ตัวเสมอ ทำอะไรรู้กาลเทศะ บาปบุญคุณโทษ รู้ว่าดีชั่วเป็นประการใด มันจะเกิดขึ้นแก่ตัวเองนั่นคือ ปัญญา ได้แก่ความไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



************************



แหล่งที่มา :

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม). ๒๕๕๐. ธรรมรักษา ๒. หจก. โรงพิมพ์คลัง

นานาวิทยา. ศูนย์ปฏิบัติธรรมเวฬุวัน จ.ขอนแก่น (สาขาวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี) ขอนแก่น.

หน้า ๒๔-๒๖.



เผยแพร่เป็นธรรมทาน

เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ บรรพบุรุษ บิดา มารดา ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ชะตา เจ้าที่ เจ้าทาง แม่นางธรณี ผีบ้าน ผีเรือน ที่ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ สัมภเวสีทั้งหลาย และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ และจงได้รับในบุญกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ.

ถ้าท่านมีทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ถ้าท่านมีสุขอยู่แล้ว ขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้น
เขียนโดย เสาวภางานพิมพ์ ที่ 20:45 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น