กรรมที่แทจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ
  หลักเกณฑ์ข้อที่ ๑ ผู้ทำมีเจตนา มีหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้
ในนิพเพธิสูตร ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ
วทามิ (เจ-ตะ-นา-หัง, พิก-ขะ-เว, กำ-มัง, วะ-ทิ-มิแปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม
   เจตนา ได้แก่ ความตั้งใจหรือความรับรู้ ซึ้งแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ
       . บุพเจตนา   เจตนาก่อนทำ
       . มุญจนเจตนา เจตนาในเวลาทำ
       . อปราปรเจตนา เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว
การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น
ส่วนการกระทำไม่มีเจตนา คือใจไม่ได้สั่งให้ทำไม่จัดว่าเป็นกรรม เช่น คนเจ็บ ซึ่งมีไขสูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำยาบออกมา เอามือ หรือเท้าไป
ถูกใครเข้าก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้พระที่วิกลจริตซึ่งลวงเกินสิก
ขาวินัยไม่ต้องอาบัติ ทั้งนี้ก็ได้โดยหลักที่ว่าถ้าผู้ทำไม่เจตนา การกระทำนั้นก็
ไม่เป็นกรรม
 ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ ๒ การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป
ก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากการกระทำของปุถุชน เนืองจากพระอรหันต์ เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึดถือในตัวตน
การกระทำ เรียกว่า อัพยากฤต ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือชั่ว บุญและบาป
ไม่มี การกระทำของพระอรหันต์ จึงไม่เรียกว่ากรรม แต่เรียกว่า กิริยา
ส่วนปุถุชน ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึดถือว่าตน
เป็นผู้กระทำ  การกระทำของปุถุชนจึงเป็นกรรม ย่อมจะก่อให้เกิดวิบาก
หรือผลเสมอ กรรมดีก็ก่อให้เกิดบุญ ส่วนกรรมชั่วก็ก่อให้เกิดบาป
กฎแห่งกรรม  หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น